วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

    การติดตั้งซีพียู มีขั้นตอนดังต่อไปนี้                         
     1.การติดตั้งซีพียูและเมนบอร์ด จากนั้นค้นหาตำแหน่งของซ็อคเก็ตใช้สำหรับใส่ซีพียูบนเมนบอร์ด
 
                                    
                                                       รูปที่ 4.15 CPU                                                                     รูปที่ 4.16 ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ CPU

     2.ง้างกระเดื่องล็อก CPU ออกทางด้านข้างและดันขึ้นให้สุด
                                                                                    
                                                                                                                                          กระเดื่องล็อก CPU                  
     3.ใส่ CPU เข้าไปตรงๆโดยให้ด้านที่มีรอยตัด ตรงกับด้านที่มีรอยบากของซ็อคเก็ตจากนั้นดันแขนกระเดื่องกลับมาล็อก
 
                                                                                          
          การเลือกซื้อซีพียู
           ซีพียูเป็นหนึ่งในระบบหัวใจของการทำงาน ซีพียูเป็นอุปกรณ์หนักตัวหนึ่งที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับตัวคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่อง ขณะเดียวกันก็มี
      ความหลากหลายของรุ่น และเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ราคาจึงมีการเปลี่ยนแปลงตาม และมีช่วงราคาสูงมาก จากราคาบางรุ่นที่จัดว่า
      เป็นรุ่นที่ต่ำมีราคาเพียงพันบาทเศษไปจนถึงรุ่นบนสุดมีราคากว่าหมื่นบาท บางครั้งถึงกว่าสองหมื่นบาท ดังนั้นราคาของซีพียูในปัจจุบันที่มีขาย
      จึงขึ้นกับซีพียูที่เลือกใช้อยู่ค่อนข้างมากหากจะแบ่งซีพียูที่ใช้งานตามข้อเสนอของเนคเทคที่แบ่งซีพีระดับการใช้ในบ้าน (โฮมยูส) ระดับสำนัก
      งาน ซีพีแบบโนตบุ๊ก ซีพีที่ใช้งานคำนวณและออกแบบทางด้านกราฟิก และพีซีที่ใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ พีซีมีหลายระดับราคา แต่หากพิจาณาในเรื่อง
      ซีพียูก็พอจะแบ่งแยกตามเทคโนโลยีและผู้ผลิต และอายุของซีพียูที่ได้วางอยู่ในท้องตลาด ซีพียูรุ่นใหม่จะมีราคาแพงกว่าและมีขีดความสามารถ
      ที่สูงกว่า ดังนั้นข้อเสนอแนะหรือข้อเขียนในที่นี้จึงใช้ได้กับช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และจะปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลาซีพียูที่กำลังได้รบความ
      นิยมและใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน (มกราคม 2002) พอแบ่งได้เป็นซีพียูมาจากสองบริษัทคือ อิเทล และเอเอ็มดีโดยทั้งสองบริษัทมีซีพียูวางจำหน่าย
      ในขณะนี้สามระดับ หรือสามกลุ่มตามขีดความสามารถและราคา ซึ่งแสดงได้ดังตารางที่ 1
 
 ซีพียูกลุ่มโฮมยูส กลุ่มใช้งานทั่วไป กลุ่มขีดความสามารถสูง 
 อินเทลCerelon Pentium III Pentium 4 
 เอเอ็มดีDuro Athlon Athlon XP 
 
                         
 
                                                AMD Duron 1.3  GHz  AMD Athlon                                                                                AMD Athlon XP 2000+
 
 
 
 
           ทั้งสองบริษัทที่ผลิตซีพียูจัดได้ว่าเป็นผู้กำหนดเทคโนโลยีของซีพียูในปัจจุบัน เพราะทั้งสองบริษัทนี้มีส่วนแบ่งในตลาดร่วมกัน 99 เปอร์เซ็นต์
      และจะต้องแข่งขันกันในเรื่องราคาด้วย


                                                                                                             รูปที่ 4.17 Pentium 4

      ข้อพิจารณาในเรื่องซีพียู
          การทำงานจัดได้ว่าเป็นสุดยอดของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ดังนั้นจำเป็นต้องทำความเข้าใจแนวคิดการพัฒนาซีพียู และจุดเด่นที่สำคัญของซีพียู
    ในที่นี้จะกล่าวอธิบายรายละเอียดบางประการเพื่อเป็นพื้นความรู้สำหรับพิจารณาเลือกซื้อต่อไปเทคโนโลยีCISC และ RISC CISC ย่อมาจาก 
    complex Instruction Set Computer ส่วน RISC เป็นคำย่อมาจาก Reduce Instruction Set
    Computer ซีพียูที่ใช้ซีพีทั้งของค่ายเอเอ็มดีและอินเทล เป็นเทคโนโลยี CISC กล่าวคือมีการทำงานแบบชุดคำสั่งที่ซับซ้อน และมีจำนวนคำสั่งพื้น
    ฐานมาก มายร้อยคำสั่ง ปัจจุบันคำสั่งที่ใช้ในเพนเทียม 4 มีมากกว่า 400คำสั่ง แต่ละคำสั่งทำงานเฉพาะและซับซ้อน เช่น การบวกลบคูณหาร
    เลข ทั้งพื้นฐานและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ การทำงานกับบล็อกข้อมูล รวมถึงคำสั่งเฉพาะที่ใช้ในระบบมัลติมีเดียต่างๆ
       1.การประมวลผลภายในระบบ PIPE เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานของซีพียูดีขึ้น จึงต้องหาวิธีการนำคำสั่งจากหน่วยความจำเข้า
    คิว และ การทำการประมวลผลพร้อมกันแบบขนาน หรือเหลื่อมที่เรียกว่า Pipeline การทำเช่นนี้ทำให้ทำงานโดยรวมได้รวดเร็วขึ้นนอกจากนี้
    ภายในซีพียูยังมีหน่วยคำนวณ หรือหน่วยเฉพาะพิเศษในรูปแบบขนานเพื่อให้ทำงานได้พร้อมกันในเวลาเดียว เช่น หน่วย ALU ทั้งแบบเลข
    จำนวนเต็มและเลขลอยตัวที่มีมากกว่า หนึ่งหน่วย การเพิ่มขีดความสามารถโดยจึงขึ้นอยู่กับวิธีการจัดโครงสร้างการทำงานแบบพร้อมในเวลา
    เดียวกันเพื่อให้ได้หลายคำสั่งในเวลาเดียว
      2.แรงดันไฟฟ้า ระดับลอจิกและการกำลังไฟฟ้า เมื่อให้ซีพียูทำงานเร็วขึ้นจำเป็นต้องลดดับแรงไฟฟ้าลง และลดระดับแรงดันลอจิก
    ซีพียูปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้ระดับแรงดันไม่เกิน 2 โวลต์ โดยทั่วไปจะใช้ระดับแรงดันที่ประมาณ 1.6-1.7 โวลต์ การทำงานที่ระดับแรงดันต่ำจะทำให้
    มีภูมิต่อสัญญาณรบกวนต่ำด้วย แต่มีข้อดีคือมีกำลังสูญเสียต่ำ หรือตัวซีพียูไม่ร้อนจัดมากเกินไป
      3.สัญญาณนาฬิกา  เป็นตัวกำหนดจังหวะในการทำงาน สัญญาณนาฬิกาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้ารูปคลื่นที่สี่เหลี่ยม ที่สร้างขึ้นและป้อน
   ให้กับซีพียูเพื่อเป็นฐานเวลาในการทงานโดยความเป็นจริงแล้วตัวสัญญาณนาฬิกาจริงของซีพียูอยู่ที่ไม่เกิน 400 MHz แต่จะเห็นจากที่กล่าวอ้าง
    เป็นตัวเลข 1500 MHz หรือ 2000 MHz ซึ่งนั่นหมายถึงมีตัวคูณ ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันการใช้สัญญาณยิ่งมีความถี่สูงขึ้น
    เท่าไร ก็จะมีข้อยุ่งยากในเรื่องการออกแบบมากขึ้น และปัญหาจะมีตามมาอีกหลายอย่างที่จะต้องแก้ไข เช่น การเดินสายสัญญาณในชิปและ
    เมนบอร์ด
     4.ตัวคูณความเร็ว เป็นเทคนิคของแต่ละบริษัทที่จะออกแบบ การที่มีตัวคูณหมายถึงทำให้ซีพียูทำงานได้เร็วขึ้นเสมือนกานใช้สัญญาณ
    นาฬิกาจริงเช่น ใช้สัญญาณนาฬิกา 300 MHz และมีตัวคูณความเร็วเท่ากับ 5 นั่นคือจะได้ความเร็วเท่ากับ 1500 MHz เทคนิคของการคูณ
    ความเร็วที่ใช้คือ การทำ Pipeline เพื่อให้การทำงานขนานภายในซีพียู การทำงานพร้อมกันจะเป็นการเพิ่มความเร็ว เช่น ในสัญญาณนาฬิกาที่
    มีการทริกการทำงานหนึ่ง แต่มีโปร เซสภายในซีพียูทำงานพร้อมกันหลายอย่าง ดังจะเห็นได้ชัดว่าซีพียูของ AMD หลายรุ่นใช้วิธีการกำหนดตัว
    เลขเช่น 1800+หมายถึงความเร็วเทียบได้ไม่น้อยกว่า 1800 MHz
      5.แคช (Cache) เป็นเทคนิคความจำที่ซีพียูสามารถติดต่อได้ด้วยความเร็วสูง โดยปกติการทำงานของซีพียูจำเป็นต้องเร่งความเร็ว แต่หน่วย
    ความจำภายนอกจะมีการทำงานที่ความเร็วต่ำกว่า ดังนั้นจึงต้องสร้างบัฟเฟอร์ไว้ภายใน เพื่อให้ซีพียูทำงานร่วมด้วย ขนาดของแคชยิ่งใหญ่จะช่วย
    ให้มีบัฟเฟอร์ เก็บข้อมูลได้มาก การทำงานของซีพียูจะดีขึ้น หน่วยความจำที่ดีต้องมีความเร็วตอบสนองซีพียูได้สูงมากเท่าเทียมกับซีพียู แต่สภาพ
    ความเป็นจริงจะทำให้มีราคาแพงขึ้นจึงแบ่งแคชเป็นระดับ โดยทั่วไปซีพียูจะมีแคช L1 อยู่ในชิปซีพียู และแคช L2 อยู่นอกแผ่นซิลิกอนเดียวกัน แต่
    อาจจะวางอยู่บนแพกเกจเดียวกัน ซีพียูปัจจุบันมีทั้ง L1และL2 แคชแต่ขึ้นกับขนาดโดยปกติยิ่งมีแคชมากยิ่งดี  การติดต่อกับแคชจะมีช่องทางติดต่อ
    เพื่อโอนย้ายข้อมูลโดยทั่วไปจะมีสายข้อมูลซึ่งมีขนาดเป็นความกว้าง เช่น 64 บิต หมายถึงโอนย้ายข้อมูลผ่านบัสเข้าสู่แคชทำได้ด้วยครั้งละ 64 บิต    
      6.เทคโนโลยีการผลิต เป็นการสร้างแผ่นชิปว่ามีขนาดเล็กเพียงไร เทคโนโลยีการผลิตจึงขึ้นอยู่กับความกว้างของเกตที่ประกอบเป็นตัว
     ทรานซิสเตอร์ภายใน ความกว้างส่วนนี้เริ่มลดลงจนมีขนาดเล็กมาก เทคโนโลยีในปัจจุบันจะอยู่ที่ 0.13 ไมครอน และจำนวนทรานซิสเตอร์ต่อ
    ชิปจะเริ่มสูงขึ้น จนอาจจะมีมากกว่า 100 ล้านทรานซิสเตอร์ได้
      7.รูปร่างแพกเกจและการเชื่อมต่อ แต่เดิมของการผลิตที่ผู้ผลิตต้องหาวิธีการเชื่อมโยงขาซีพียูกับเมนบอร์ดด้วยวิธีที่เหมาะสม ซีพียู
    รุ่นใหม่มีจำนวนขามากมายกว่า 300 ขาดังนั้นจึงต้องหาซ็อกเก็ตแบบต่างๆที่เป็นมาตฐานหลักเมื่อจำนวนขามากจึงหันมาใช้ซ็อกเก็ตแบบ
     PGA-Pin Grid Arrayกล่าวคือมีขาเชื่อมโยงเป็นอะเรย์ทำให้บรรจุจำนวนขาได้มากในบางครั้งก็เรียกว่า PGA ตามด้วยจำนวนขา แต่บางบริษัทเรียก
     สล็อก เช่น ของเอเอ็มดี เดิมสร้างแบบสล็อต แต่ต่อมาสร้างแบบ PGA ก็ยังเรียกว่า สล็อต
      8.การเชื่อมต่อกับหน่วยความจำภายนอก อุปสรรค์ที่สำคัญของการทำงานของซีพู คือ ทำอย่างไรจึงจะอ่านหน่วยความจำภายนอก
    ให้ได้เร็ว ดังนั้นจึงมีการสร้างเทคนิคของการติดต่อหน่วยความจำแบบต่างๆ เช่น SDRAM,DDRAMR และ DRAM ช่องทางการติดต่อระหว่าง
    ซีพียูไปยังหน่วยความจำเรียกว่า FSB เป็นระบบบัสความเร็ว ยิ่งสูงเท่าไรหมายถึงการตอต่อหน่วยความจำได้มากขึ้น
      9.แถบกว้างการสื่อสารข้อมูลของบัสโดยรวม หมายถึงช่องทางรวมของซีพียูที่จะติดต่อกับส่วนต่างๆ ผ่านทางบัส ปกติบัสแต่ละ
    เส้นจะมีข้อจำกัดเรื่องสัญญาณนาฬิกา ถ้าบัสมีขนาด 100 MHz และมีบัส 64 เส้น ก็หมายถึงได้แถบกว้างรวม 6400 MHz หรือ 6.4 จิกะเฮิรตซ์ แต่
    ความเป็นจริงความเร็วนี้ยังมีข้อจำกัดบางประการ
      10.การใช้หน่วยความจำร่วม เทคโนโลยีหน่วยความจำได้รับการออกแบบให้ใช้กับซีพียู โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารกับหน่วยความ
    จำต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด เทคโนโลยีหน่วยความจำมีให้เลือกใช้สามหลักคือ SDRAM,DDRAMR และ DRAM
      11.ชิปเซตที่ใช้ร่วม ลำพังซีพียูตัวเดียวคงยังทำงานอะไรไม่ได้ต้องมีชิปประกอบร่วมที่เรียกว่า ชิปเซต (Chip Set) ผู้ผลิตซีพียูจำเป็นต้อง
    ออกแบบชิปเซตเหล่านี้ด้วย อย่างไรก็ดี มีบริษัทในไต้หวันหลายบริษัทสามารถผลิตชิปเซตให้ใช้ร่วมได้
          พิจารณาตารางเปรียบเทียบซีพียูในกลุ่มของอินเทล และ AMD โดยในที่นี้จะนำเอาโครงสร้างหลักของซีพียูระดับบนของทั้งสองบริษัทคือ
     Athlon XPและ Pentium 4มาเปรียบเทียบกันดังตารางที่ 2

คุณสมบัติ AMD Athlon XP  Intel Pentium 4 
 ชื่อที่เรียกเทคโนโลยีThunderbtid CISC Willamette CISC 
 ความถี่สัญญาณนาฬิกาพื้นฐาน700 ถึง 1200  1400-2200
ตัวคูณ 11.5 ถึง 1800(ปุจจุบันที่รุ่น XP 2200+) 17 
แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ 1.75 โวลต์ 1.70 โวลต์ 
เทคโนโลยีดารผลิต 0.18 ไมครอน(0.13ไมครอน) 0.18ไมครอน(ไมครอน 0.13 )
แคช L1  128 KB12000 Micro Opcode Inst 8KBdata 
ความกว้างบัสที่ L2 63 บิต 256 บิต 
 ขนาดของชิป120 ตาราง มิลลิเมตร 217 มิลลิเมตร 
 จำนวนทรานซิสเตอร์37 ล้าน 42 ล้าน 
 ซ็อกเก็ตซ็อกเก็ต A ขนาด 462 ขาซ็อกเก็ต 423 ขนาด 423ขา 
 FSB133 MHz DDR EV6 ใช้กับ DDRAM,SDRAM 100 MHz Quad Pumped  ใช้กับ RDRAM 
 แถบกว้างของซีพียู2.1 GB/วินาที 32 GB/วินาที 
 ชิปเซตAMD-760 ALi MAGIK1VIA KT266VIAKY133 Intel 850 
 หน่วยความจำPC2 100 DDR SDRAM PC133SDRAM RDRAM
    
    
        การเลือกซื้อซีพียูในขณะนี้ (มกราคม 2002) ความเร็วต่ำจะอยู่ในช่วง 900 MHz ขึ้นไปโดยที่มีรุ่นที่มีความเร็วสูงสุดที่ประมาณ 2200 MHz กัน
    แล้ว โดยปกติจะดูว่าจะซื้อเพื่ออะไร เช่น ถ้าซื้อโดยใช้งานเป็นเพียงอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ ในห้องให้นิสิต ใช้เพื่อเป็นการเรียกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
    ก็สามารถใช้ซีพียูรุ่นต่ำคือ Cerelon หรือ AMD Duron ได้ ปัจจุบันราคาซีพียูในระดับต่ำ จะมีราคาเพียงประมาณ 2,000 บาท และเมื่อประกอบเป็น
    เครื่องซีพีจะมีราคารวมประมาณ 17,000 บาท ถึง 19,000 บาท หากต้องการได้ระดับราคาไม่สูงมากโดยเลือกขนาดกลางก็ใช้ AMD AThon และ
     Pentium III ซึ่งราคาซีพียูในช่วงประมาณ 5,000 บาทถึง 7,000 บาท โดยถ้าเป็นซีพียูของ AMD จะมีราคาถูกว่าอย่างเห็นได้ชัด สำหรับรุ่นกำลังสูงที่
    เป็นรุ่นออกใหม่ ในกรณีของ AMD จะมีราคาถูกกว่า Pentium 4 อย่างเห็นได้ชัดเช่นกันโดยราคาจึงเป็นเงื่อนไขที่จะต้องพิจารณาร่วมด้วย 
        ดังนั้นราคาซีพียูในรุ่นต่ำคือ Duron และ Cerelon แล้วจะเห็นว่าเมื่อดูในเรื่องการเทียบประสิทธิภาพแล้ว ก็จะเป็นตัวเลือกที่สำคัญ โดยปกติจะมี
    การนำมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งสามารถหาได้จากหนังสือทั่วๆไป
       สำหับในรุ่นราคาสูง  Athlon XP เป็นรุ่นที่เป็นตัวเลือกได้ดี เมื่อเทียบกับ Pentium โดยเฉพาะในเรื่องราคาและประสิทธิภาพ ซึ่งเห็นได้จากผล
    การทดสอบการใช้งานหลายสำนักที่ตีพิมพ์เผยแพร่ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจจะเลือกซื้ออะไรมาใช้งานคงต้องลองศึกษาจากหลายๆองค์ประ
    กอบ โดยเฉพาะการมองหารายละเอียด ข้อดีข้อเสีย รวมทั้งงบประมาณการลงทุนต่างๆที่มีอยู่ด้วย
       เทคนิคที่เกี่ยวกับซีพียูทั้งสองด้านสามารถหาได้จากเว็บไซต์ของบริษัทคือ www.AMD.COM และ www.intel.com  อ้างอิงhttps://sites.google.com/
 

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น